4 มิ.ย. 2559 09:59 น.
แนะเพิ่มรหัสผ่านจาก4เป็น6หลัก เชื่อATM chip cardปลอดภัยขึ้น
4 มิ.ย.59 ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,144 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
ในด้านพฤติกรรมการทำธุรกรรมการเงินเปรียบเทียบระหว่างการไปทำธุรกรรมที่ตู้ ATM กับทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคารนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 43.36 ระบุว่าตนเองนิยมทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM มากกว่าไปทำที่สาขาของธนาคาร ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.86 ระบุว่า ตนเองนิยมไปทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคารมากกว่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.78 นิยมพอๆกัน สำหรับประเภทของธุรกรรมทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างทำผ่านบัตร ATM สูงสุด 3 อันดับได้แก่ ถอนเงินสดคิดเป็นร้อยละ 91.52 ตรวจสอบสถานะ/เงินคงเหลือในบัญชีคิดเป็นร้อยละ 89.6 และชำระค่าสินค้า/บริการที่สั่งซื้อคิดเป็นร้อยละ 84.44 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.19 ระบุว่า ตนเองไม่เคยสมัครใช้บริการบัตร ATM โดยที่ไม่เคยใช้บัตร ATM นั้นทำธุรกรรมใดๆ เลย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.81 ยอมรับว่าเคย
ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card กลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 73.69 ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้มีการเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 ขณะที่ยังมีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 26.31 ที่ยังไม่ทราบ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 44.58 ระบุว่าตนเองจะไปเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ภายในก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2562 รองลงมาระบุว่า จะรอจนบัตรใบเดิมหมดอายุคิดเป็นร้อยละ 28.58 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.15 ระบุว่าจะรอจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างที่เหลือระบุว่ายังไม่แน่ใจซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.69
ในด้านความคิดเห็นต่อการใช้บัตร ATM แบบ chip card กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.96 มีความคิดเห็นว่าการเพิ่มรหัสผ่านในบัตร ATM แบบ chip card จาก 4 หลักเป็น 6 หลัก จะมีส่วนช่วยลดโอกาสการถูกขโมยรหัสผ่านได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.72 ยอมรับว่า การเพิ่มรหัสผ่านในบัตร ATM แบบ chip card จาก 4 หลักเป็น 6 หลัก จะมีส่วนเพิ่มโอกาสให้เจ้าของบัตรลืมรหัสผ่านได้มากขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.34 เชื่อว่าบัตร ATM แบบ chip card มีความปลอดภัยจากการถูกขโมยข้อมูลมากกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก แต่กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 64.51 ยอมรับว่าตนเองยังคงรู้สึกกลัวถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวในบัตร ATM แบบ chip card ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 72.64 เชื่อว่าในอนาคตจะมีการผลิตเครื่องมือมาเพื่อทำการขโมยข้อมูลส่วนตัวในบัตร ATM แบบ chip card ได้สำเร็จ และกลุ่มตัวอย่างถึงสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.44 มีความคิดเห็นว่าธนาคารต่างๆไม่ควรเก็บค่าทำเนียมในการเปลี่ยนจากบัตร ATM แบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ในกรณีที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุหรือชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
4 มิ.ย.59 ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,144 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
ในด้านพฤติกรรมการทำธุรกรรมการเงินเปรียบเทียบระหว่างการไปทำธุรกรรมที่ตู้ ATM กับทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคารนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 43.36 ระบุว่าตนเองนิยมทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM มากกว่าไปทำที่สาขาของธนาคาร ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.86 ระบุว่า ตนเองนิยมไปทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคารมากกว่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.78 นิยมพอๆกัน สำหรับประเภทของธุรกรรมทางการเงินที่กลุ่มตัวอย่างทำผ่านบัตร ATM สูงสุด 3 อันดับได้แก่ ถอนเงินสดคิดเป็นร้อยละ 91.52 ตรวจสอบสถานะ/เงินคงเหลือในบัญชีคิดเป็นร้อยละ 89.6 และชำระค่าสินค้า/บริการที่สั่งซื้อคิดเป็นร้อยละ 84.44 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.19 ระบุว่า ตนเองไม่เคยสมัครใช้บริการบัตร ATM โดยที่ไม่เคยใช้บัตร ATM นั้นทำธุรกรรมใดๆ เลย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.81 ยอมรับว่าเคย
ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card กลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 73.69 ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้มีการเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 ขณะที่ยังมีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 26.31 ที่ยังไม่ทราบ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 44.58 ระบุว่าตนเองจะไปเปลี่ยนบัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ภายในก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2562 รองลงมาระบุว่า จะรอจนบัตรใบเดิมหมดอายุคิดเป็นร้อยละ 28.58 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.15 ระบุว่าจะรอจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างที่เหลือระบุว่ายังไม่แน่ใจซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.69
ในด้านความคิดเห็นต่อการใช้บัตร ATM แบบ chip card กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.96 มีความคิดเห็นว่าการเพิ่มรหัสผ่านในบัตร ATM แบบ chip card จาก 4 หลักเป็น 6 หลัก จะมีส่วนช่วยลดโอกาสการถูกขโมยรหัสผ่านได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.72 ยอมรับว่า การเพิ่มรหัสผ่านในบัตร ATM แบบ chip card จาก 4 หลักเป็น 6 หลัก จะมีส่วนเพิ่มโอกาสให้เจ้าของบัตรลืมรหัสผ่านได้มากขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.34 เชื่อว่าบัตร ATM แบบ chip card มีความปลอดภัยจากการถูกขโมยข้อมูลมากกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก แต่กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 64.51 ยอมรับว่าตนเองยังคงรู้สึกกลัวถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวในบัตร ATM แบบ chip card ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 72.64 เชื่อว่าในอนาคตจะมีการผลิตเครื่องมือมาเพื่อทำการขโมยข้อมูลส่วนตัวในบัตร ATM แบบ chip card ได้สำเร็จ และกลุ่มตัวอย่างถึงสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.44 มีความคิดเห็นว่าธนาคารต่างๆไม่ควรเก็บค่าทำเนียมในการเปลี่ยนจากบัตร ATM แบบแถบแม่เหล็กไปเป็นบัตรแบบ chip card ในกรณีที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุหรือชำรุดเสียหายหรือสูญหาย